This website is copied from  https://gobserver.net/4806/global-diaries/thailand/furor-erupts-over-anti-sex-trafficker-exodus-road/  and Translated to Thai

Furor erupts over anti-sex trafficker Exodus Road
ปัญหาในองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ Exodus Road

The red flags started for Allison Weber even before she started work with Exodus Road. At a supper in Thailand with the CEO, Matt Parker, and a few other couples, Parker suggested a tour of the red light district in the city of Pattaya, to show everyone how bad it was.

สัญญาณความผิดปกติในองค์กร Exodus Road สำหรับนางอัลลิสัน เวเบอร์ (Allison Weber) เริ่มต้นขึ้นระหว่างที่เธอไปรับประทานอาหารค่ำ ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่งในประเทศไทย กับผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนาย แมทต์ พาร์คเกอร์ (Matt Parker) และคู่รักคู่หนึ่ง โดยในระหว่างการรับประทานอาหาร พาร์คเกอร์ได้แนะนำให้เวเบอร์ไปทัวร์ย่านค้าประเวณีในเมืองพัทยากับเขา โดยอ้างว่าเพื่อแสดงให้เธอได้เห็นความเลวร้ายของสถานที่นั้น

She had no interest in going. She’d visited go-go bars and brothels as part of her other job, which involved helping women in prostitution. It’s not pleasant. “It’s men groping women. It’s intense,” she said. She was surprised that a man who ran a nonprofit fighting sex trafficking wanted to do this.

อย่างไรก็ตาม เวเบอร์ได้ตอบปฏิเสธไป โดยเธอกล่าวว่าเธอเคยไปที่แบบนั้นแล้วระหว่างที่ทำงานอยู่กับบริษัทก่อนหน้า ซึ่งสถานที่เหล่านั้นทำให้เธอรู้สึกหดหู่ใจ เวเบอร์รู้สึกตกใจมากที่ผู้ชายอย่างพาร์คเกอร์ที่เป็นผู้คุมองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์อยากจะไปเที่ยวในที่แบบนั้น โดยเธอกล่าวว่า “สถานที่เหล่านั้นเป็นที่ที่ผู้ชายย่ำยีผู้หญิง มันน่ารังเกียจเอามาก ๆ ” 

Parker pushed the men to go. He said something like: How small a man do you have to be to not go to these places? “My husband was really offended,” she said. “That felt out of line to me.”

เวเบอร์กล่าวต่อว่า พาร์คเกอร์บังคับให้ผู้ชายคนอื่น ๆ ใน Exodus Road ไปสถานที่ดังกล่าวโดยใช้คำพูดเหยียดหยามเช่น “ผู้ชายที่มีอวัยวะเพศเล็กจะไม่ไปสถานที่เหล่านี้” ซึ่งรวมถึงสามีของเธอเองด้วย โดยเวเบอร์เปิดเผยว่า “สามีของฉันรู้สึกแย่จริงๆ” เธอคิดว่าคำพูดของพาร์คเกอร์เกินขอบเขตมากเกินไป

Other incidents with the Colorado-based organization followed and she connected with others who’d had bad experiences over the past few years. In February, Weber joined two other former co-workers and at least eight others who have worked in the anti-sex trafficking and after care worlds in co-signing an “open letter” aimed at a laundry list of improprieties allegedly committed by Exodus Road between 2014 and 2020.

เหตุการณ์อื่น ๆ ลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกันใน Exodus Road สาขาโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเวเบอร์กล่าวว่า เธอได้ประสานงานกับคนรู้จักในสาขานี้ ที่มีประสบการณ์ไม่ดีกับองค์กรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ เวเบอร์จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับอดีตเพื่อนร่วมงานสองคนและคนรู้จักอีกแปดคนที่ทำงานในแวดวงเดียวกันเพื่อออก “จดหมายเปิดผนึก” ที่มีเป้าหมายไปที่การเปิดโปงสิ่งผิดปกติในองค์กร Exodus Road ระหว่างปี 2014 ถึง 2020

For this story, Global Observer interviewed more than 15 people, including former employees, others who worked in the anti-sex work field, and friends of the employees who confirmed details.

สำหรับเรื่องนี้ ผู้สื่อข่าว Global Observer ได้สัมภาษณ์ผู้คนมากกว่า 15 คนซึ่งประกอบไปด้วยอดีตพนักงาน บุคคลที่ทำงานในแวดวงต่อต้านการค้าประเวณี และเพื่อนของพนักงานที่ได้รับผลกระทบ

The complaints spanned a broad spectrum — two major complaints focus on questions about the organization’s overall effectiveness in the field and how it handled the alleged sexual assault of a staffer.

โดยข้อกล่าวหาต่อองค์กร Exodus Road จะครอบคลุมสองประเด็นคือ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์กรโดยรวมและวิธีที่องค์กรจัดการกับข้อกล่าวหาว่ามีการล่วงละเมิดทางเพศต่อพนักงานในองค์กร

Other allegations include:

ข้อกล่าวหาอื่น ๆ รวมถึง:

— the encouragement of sexualized behavior with women in bars and brothels as part of of going “undercover,” 

การส่งเสริมพฤติกรรมของผู้หญิงที่ทำงานในบาร์และสถานที่ค้าประเวณีโดยอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของงาน

— a number of instances among office workers of sexually inappropriate language, 

การใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมทางเพศกับพนักงานจำนวนหนึ่งในองค์กร

— the demeaning treatment of staff, 

การเหยียดหยามพนักงาน

— the size of the salaries paid to the two top employees, who are a married couple, and the methodology the organization uses to count the people it says it rescues.

การจ่ายเงินเดือนและวิธีการนับจำนวนคนที่องค์กรอ้างว่าทำการช่วยเหลือ

 “This is a really toxic organization and it’s harming the anti-trafficking sector as a whole,” said Weber, whose dinner with Parker was in 2014, and who had worked an another anti-sex-trafficking nonprofit for two years prior. “Their behavior is really damaging to that work.”  

เวเบอร์กล่าวว่า “องค์กร Exodus Road เป็นองค์กรที่ท็อกซิกและก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อองค์กรการค้ามนุษย์อื่น ๆ”  

Kyle Fisk, a spokesman for Exodus Road, slammed the allegations as “baseless.” Exodus Road is helping drive systemic anti-trafficking change in Thailand, by making it more dangerous and less lucrative to be a sex trafficker, he said. 

ในขณะเดียวกัน ไคล์ ฟิส (Kyle Fisk) โฆษกของ Exodus Road ก็ได้ออกมาตอบโต้เวเบอร์ว่า ข้อกล่าวหาของเธอไม่มีมูล Exodus Road กำลังช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงด้านการต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย โดยทำให้การค้ามนุษย์ดูเป็นสิ่งที่อันตรายและไม่ได้สร้างรายได้ได้มากอย่างที่หลาย ๆ คนคิด 

 “There are certainly plenty of supporters and partners and donors that are engaged in the work of Exodus Road, who certainly believe that this organization is doing valuable and important work,” Fisk said. Exodus Road gets top ratings for fiscal transparency and accountability from GuideStar and Charity Navigator, two rating bureaus, Fisk noted.

“มีผู้สนับสนุน พันธมิตรและผู้บริจาคจำนวนมากที่ชื่อมั่นในงานของ Exodus Road พวกเขาเชื่อว่าเรากำลังทำงานที่มีค่าและสำคัญ” ฟิสกล่าว “Exodus Road ได้รับการให้คะแนนเป็นอันดับต้นๆ ในด้านความโปร่งใสทางการเงิน และความรับผิดชอบจาก GuideStar และ Charity Navigator ซึ่งทั้งสองเป็นสำนักจัดอันดับที่มีเชื่อเสียง”  ฟิสกล่าวตบท้าย

Sex tourism” is big business in Thailand. Red light districts have thrived for decades, despite a recent Covid-19 slump and more muscular efforts by the government to rein them in.

“การท่องเที่ยวทางเพศ” เป็นอุตสาหะกรรมขนาดใหญ่ในประเทศไทย แหล่งการค้าขายทางเพศได้รับความนิยมมาหลายทศวรรษถึงแม้จะได้รับผลกระทบบ้างจากสถานการณ์ Covid-19 และการเข้ามาควบคุมจากหน่วยงานของรัฐ

Because of that reputation, Thailand has attracted more than 90 groups, especially from Western countries, that battle the sex trade by helping women and children. That makes for a chaotic, confusing landscape, with organizations scattered across Thailand, using different tactics and strategies. They are often competing for funds from the same sponsors.

เนื่องด้วยชื่อเสียงดังกล่าว ประเทศไทยจึงดึงดูดองค์กรกว่า 90 องค์กรโดยเฉพาะจากประเทศแถบตะวันตก ที่ทำงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กเข้ามาทำการในประเทศ ส่งผลให้เกิดความสับสนเนื่องจากมีองค์กรเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วไปหมด โดยองค์กรเหล่านี้มักใช้กลยุทธ์และวิธีการมากมายเพื่อแย่งเงินบริจาคจากผู้สนับสนุน

The effectiveness of the organizations is anyone’s guess. The field lacks desperately needed standards, said multiple people. Basic questions, such as what defines success, are only slowly being addressed.

นอกจากนี้ ประสิทธิภาพขององค์กรเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถประเมินได้เนื่องจากไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน คำถามง่าย ๆ อย่างเช่น อะไรที่บ่งบอกถึงความสำเร็จขององค์กร ก็ไม่สามารถประเมินได้ง่าย ๆ ดังคำกล่าวของ ดันแคน เจปสัน (Duncan Jepson) ผู้อำนวยการของ Liberty Shared องค์กรป้องกันการค้ามนุษย์ที่ได้กล่าวไว้ว่า “ระบบไม่ได้เสียหาย  มันแค่ไม่สมบูรณ์อย่างใหญ่หลวง”

 The system is not broken — it’s just woefully incomplete and you can drive a bus through the holes,” said Duncan Jepson, managing director of Liberty Shared, which works to prevent human trafficking. 

 From the outside, it can be hard to distinguish the legitimate players from the pretenders. Some anti-trafficking groups have won hard-earned reputations from colleagues for helping people escape sex work and learn new professions. Others are labeled dismissively as “cowboys.” 

จากภายนอก อาจเป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะองค์กรที่น่าเชื่อถือออกจากองค์กรปลอม ๆ ซึ่งบางองค์กรก็ได้รับชื่อเสียงมาอย่างยากลำบากจากการช่วยผู้คนให้หนีพ้นอาชีพค้าเพศและให้มีชีวิตใหม่ ส่วนองค์กรบางที่ก็ทำตัวเหมือน “คาวบอย” ที่จ้องแสวงหาผลประโยชน์ในอุตสาหะกรรมนี้

One of those organizations facing criticism is Exodus Road.

หนึ่งในองค์กรแบบหลังก็คือ Exodus Road นั่นเอง

What is Exodus Road?

แล้ว Exodus Road คืออะไรกันล่ะ?

 From its founding in 2012 by the husband and wife team of Matt and Laura Parker, Exodus Road has grown quickly. It has offices in five countries: Thailand, India, the U.S., and more recently, Brazil, and the Philippines. Its stated mission is fighting human sex trafficking. 

Exodus Road ถูกก่อตั้งในปี 2012 โดยสองสามีภรรยา แมทต์ พาร์คเกอร์ และลอร่า พาร์เกอร์ ซึ่ง Exodus Road เติบโตอย่างรวดเร็วและมีสำนักงานอยู่ในห้าประเทศคือ ประเทศไทย อินเดีย สหรัฐฯ บราซิล และฟิลิปปินส์ โดยภารกิจที่พวกเขาประกาศไว้คือการต่อสู้กับขบวนการการค้ามนุษย์ทางเพศ

 Exodus Road has been a fundraising success — it took in $2.1 million in grants and contributions in 2019, the most recent year available. But the salaries paid to the Parkers, and released publicly, have come under scrutiny — about $148,000 for Matt, the CEO, and about $130,000 for his wife Laura, the president.  

Exodus Road ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการระดมทุน พวกเขาได้รับเงินสนับสนุนมากถึง 2.1 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 แต่พวกเขากลับใช้เงินเหล่านี้จ่ายเป็นเงินเดือนให้แมทมากกว่า 148,000 ดอลลาร์สหรัฐในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และอีกกว่า 130,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับภรรยาของเขา ลอร่า ซึ่งเป็นประธานบริหาร

In contrast, another Thai nonprofit, A21, pays its two top officers similar salaries, $150,000 and $143,000, but is four times larger, with nearly $9 million in contributions and grants.

เมื่อเทียบกันกับองค์กรลักษณะเดียวกันอย่าง A21 ที่เป็นองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ไม่หวังผลกำไรในประเทศไทย จะพบว่าทั้งแมทและลอร่าได้รับเงินเดือนใกล้เคียงกับผู้บริหารสองคนใน A21 ที่ 150,000 และ 143,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ต้องพำนึงไว้ว่า องค์กร A21 มีขนาดใหญ่กว่า Exodus Road ถึง 4 เท่า และมียอดเงินสนับสนุนและทุนต่าง ๆ เพียงแค่ 9 ล้านเหรียญ

เซเลส แมคกี (Celeste McGee) ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์อย่าง Dton Naam ซึ่งช่วยเหลือเด็กหนุ่มและสาวประเพศสองจากการค้าบริการทางเพศได้ชี้แจงว่า สองสามีภรรยาพาร์คเกอร์คู่นี้มีรายได้รวมกันถึง 23,000 ดอลลาร์ต่อเดือน “รายได้ขนาดนี้ทำให้ฉันตกใจมาก” เซเลส

กล่าว “คนสองคนไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากขนาดนี้แม้ว่าพวกเขาจะต้องเดินทางไปมาระหว่างประเทศไทยและสหรัฐฯก็ตาม” 

 Celeste McGee, the executive director and founder of the anti-trafficking organization Dton Naam, which helps boys and transgender sex workers, pointed out that the Parkers together earned $23,000 a month. 

 “That feels staggeringly shocking,” said McGee. “Two people don’t need $23,000 a month,” even if they are living between Thailand and the U.S.

 Exodus Road spokesman Fisk defended the salaries as appropriate. “Our executive compensation committee of the Board sets executive salaries based on a third party nonprofit study of fair compensation. Size of organization and scope of work are critical factors in determining executive salaries,” he said in a statement. 

หลังทราบถึงข้อกล่าวหาดังกล่าว โฆษกของ Exodus Road อย่างนายฟิสก็ได้ออกมากล่าวปกป้องทั้งสองว่าพวกเขาได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมแล้ว โดยฟิสกล่าวว่า “คณะกรรมการดูแลค่าจ้างของบอร์ดผู้บริหารได้กำหนดค่าจ้างผู้บริหารโดยพิจารณาจากการศึกษาการเสนอราคาจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรภายนอก ซึ่งคำนวณจากขนาดขององค์กรและขอบเขตของงานอย่างเหมาะสม”

“While two of our executives, Matt and Laura, are married, both provide critical and unique functions to the organization and are treated as separate employees, as they should be,” Fisk added.

ฟิสกล่าวเพิ่มเติมว่า “แม้ว่าแมทและลอร่าจะเป็นคู่สมรสกัน แต่ทั้งคู่ก็มีบทบาทสำคัญในองค์กร ฉะนั้น พวกเขาจึงควรได้รับการปฏิบัติเหมือนพนักงานที่เป็นปัจเจกบุคคลทั่วไป’”

 Ineffective strategy?

กลยุทธ์ที่ไม่เหมาะสม?

Critics say Exodus Road uses an investigative strategy called “search and rescue” that is not effective in the long term at helping people who have been sex trafficked or work in the sex world. 

นักวิจารณ์ส่วนหนึ่งกล่าวว่า Exodus Road ใช้กลยุทธ์ในการสืบสวนที่เรียกว่า “ค้นหาและช่วยเหลือ” (search and rescue) ในการช่วยเหลือผู้ที่ถูกค้าหรือทำงานในสายงานทางเพศ ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพในระยะยาว 

It works like this: Undercover operatives find evidence of the human trafficking of underage children or women held against their will. The evidence is turned over to police for a “rescue mission,” according to its website.

โดยกลยุทธ์ค้นหาและช่วยเหลือมีวิธีการดำเนินการคือ นักสืบต้องปลอมตัวเพื่อไปค้นหาหลักฐานการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นกับผู้เยาว์หรือหญิงที่ถูกกักขัง หลังจากนั้น พวกเขาจะเก็บรวบรวมหลักฐานเพื่อนำไปให้ตำรวจในการ “ช่วยเหลือ” ตามที่พวกเขากล่าวอ้างในเว็บไซต์

It’s a variant of what’s more commonly called “raid and rescue.” Whatever Exodus Road calls it, detractors say tactics such as these, which are used by some other organizations too, are generally ineffective and are falling out of favor.

กลยุทธ์นี้มีชื่อเรียกที่รู้โดยทั่วกันว่า “เข้าจับและช่วยเหลือ” ซึ่งในความเป็นจริงก็ถูกใช้อยู่บ้างในบางองค์กร อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์ส่วนหนึ่งได้กล่าวว่ากลยุทธ์เช่นนี้มักจะไม่มีประสิทธิภาพและกำลังเสื่อมความนิยม

Five years ago, these types of investigations were more common. But after criticism and research into the risks and benefits, people are speaking out and calling for higher professional standards. “That’s a big change now,” said Julia Macher, director of Freedom Collaborative at Liberty Shared. 

เมื่อห้าปีที่แล้ว การสืบสวนประเภทนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย แต่หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ และมีการวิจัยเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ ผู้คนก็เริ่มออกมาเรียกร้องมาตรฐานที่สูงขึ้นในการสืบสวน “นั่นคือการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่จนถึงปัจจุบัน” นางจูเลีย มาเชอร์ (Julia Macher) ผู้อำนวยการแผนกความร่วมมือเพื่อเสรีภาพของ Liberty Shared กล่าว

But it’s still popular with the public. It’s even a movie plot. In “Taken,” actor Liam Neeson smashes down doors and shoots bad guys while rescuing his daughter, kidnapped by sex traffickers. The 2008 movie was box office gold and led to two sequels. The simple theme resonates — save the girl, with the help of brute force.

ถึงกระนั้น กลยุทธ์นี้ก็ยังคงเป็นที่นิยมในองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ ถึงขนาดที่ภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง “Taken” ที่มีนักแสดงนำอย่าง เลียม นีสัน (Liam Neeson) ยังต้องเอาไปใช้ โดย เลียมถีบประตูเข้าไปปะทะกับคนร้ายเพื่อช่วยเหลือลูกสาวของเขาที่ถูกลักพาตัวไปค้าประเวณี ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลบ็อกซ์ออฟฟิศในปี 2008 และมีภาคต่ออีกถึงสองภาค ทั้งหมดนี้เพียงเพราะธีมภาพยนตร์ง่าย ๆ อย่างการ “ช่วยเหลือเด็กสาว” โดยใช้กำลังเพียงเท่านั้น

 

The movies “give people the impression that in order to do an intervention you need your own personal SWAT team to break people out,” said Annie Dieselberg, the founder and CEO of NightLight Bangkok, which specializes in aiding women who are prostitutes, especially foreigners. 

ภาพยนตร์เหล่านี้ “ให้ความรู้สึกราวกับว่า เมื่อใครซักคนต้องการเข้าไปช่วยเหลือเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ เขาจะต้องมีอาวุธครบมือเหมือนหน่วย SWATเพื่อช่วยเหลือเหยื่อออกมา” แอนนี ดีเซลเบิร์ก (Annie Dieselberg) ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ NightLight Bangkok ซึ่งเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญในการช่วยเหลือหญิงค้าประเวณีโดยเฉพาะหญิงชาวต่างชาติ กล่าว

 That may be true in a tiny percent of the cases, but it’s definitely not the norm, she said. Most women in sex work range from older teens to their 40s, who feel that prostitution is their best or only option. They are there voluntarily. Are there some women and children kept in locked rooms? Yes, but they are rare. 

ภาพจำนี้อาจจะเป็นจริงอยู่บ้างแต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น แอนนีกล่าว เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้หญิงที่ค้าประเวณีจะมีอายุอยู่ระหว่างช่วงวัยรุ่นถึงประมาณ 40 ปี ซึ่งพวกเขารู้สึกว่าการทำงานลักษณะนี้เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด หรือเป็นตัวเลือกเพียงอย่างเดียวของพวกเขา เขาจึงเลือกทำอาชีพนี้ โดยแอนนียอมรับว่าก็มีบ้างบางกรณีที่ผู้หญิงและเด็กจะถูกกักขังในห้องที่ล็อคเอาไว้ และถูกบังคับให้ค้าเพศ แต่นี่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

The problem with raid and rescue is that without extensive aftercare to help sex workers learn new ways of living, with marketable job skills, most people “rescued” this way quickly return to sex work, said Dieselberg.

ปัญหาของกลยุทธ์การเข้าจับและช่วยเหลือคือ หากไม่มีการให้การดูแลหลังการช่วยเหลือที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้เหยื่อเรียนรู้วิธีการใช้ชีวิตใหม่ด้วยทักษะทางวิชาชีพ ผู้คนเหล่านี้ก็มักจะกลับไปทำงานค้าเพศเหมือนเดิมอย่างรวดเร็ว แอนนี กล่าว

 The aftercare groups work much differently. No doors get busted down. Often, a woman in the sex trade calls an aftercare group and the group takes them away. That’s about it. “It is not a dramatic rescue,” Dieselberg said.

กลุ่มดูแลหลังการช่วยเหลือเหยื่อทำงานแตกต่างออกไปมากพวกเขาไม่ต้องถีบประตูเข้าไปสู้กับคนร้าย กลับกัน บ่อยครั้งผู้หญิงที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้เองที่เป็นผู้โทรหาพวกเขาเพื่อขอความช่วยเหลือ “มันไม่ใช่การช่วยเหลือที่มีเรื่องราวน่าตื่นเต้นอะไร” แอนนี กล่าว

 The lack of drama makes it a tough pitch for donors. It goes something like this: We need money to help a woman heal for several years, to rediscover her identity, to restore her relationship with her family, and to build goals and dreams.

ซึ่งการไร้ความน่าตื่นเต้นนี้เองที่ทำให้ยากต่อการขอรับบริจาค เพราะแนวทางช่วยเหลือทั่วไปอาจมีเพียงแค่ เราต้องการเงินเพื่อช่วยให้เหยื่อฟื้นตัวในระยะเวลาหลายปี เพื่อทำให้พวกเธอค้นพบตัวตนในด้านใหม่ ๆ ทำให้ความสัมพันธ์ของพวกเธอกับครอบครัวกลับมาดีเหมือนเดิม และสร้างเป้าหมายและความฝันให้พวกเธอ

It’s heartfelt, but not exciting. So funding often is simply not there, said Dieselberg, whose organization helps with long-term help, such as job training.

แม้วิธีนี้อาจฟังดูซึ้งใจแต่ก็ไม่น่าตื่นเต้น ดังนั้น การระดมทุนบ่อยครั้งมักจบลงด้วยความล้มเหลว แอนนี ผู้ซึ่งองค์กรของเธอมอบความช่วยเหลือในระยะยาวแก่เหยื่อการค้าเพศเช่น การฝึกอบรมวิชาชีพ กล่าว

When asked about its aftercare programs, Fisk of Exodus Road said the organization uses social workers and crisis care workers. They are launching a safe house and transition home in Thailand for adult survivors, which will open in the late fall.

เมื่อถามองค์กร Exodus Road เกี่ยวกับการดูแลหลังการช่วยเหลือของพวกเขา โฆษกฟิสก็อ้างว่าองค์กรของเขามอบหมายให้นักสังคมสงเคราะห์และเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยวิกฤตเป็นผู้ดูแล และพวกเขาก็กำลังเปิดบ้านพักพิงและศูนย์ที่พึ่งในประเทศไทยสำหรับเหยื่อที่เป็นผู้ใหญ่ ซึ่งจะเปิดให้ใช้งานในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง

 He declined to offer the names of any aftercare programs Exodus Road works with. “These baseless allegations against the Exodus Road certainly have the opportunity to be viewed negatively and we’re going to choose to protect our staff and partners from any of that negative publicity,” Fisk said.

อย่างไรก็ตาม ฟิสปฏิเสธที่จะเปิดเผยชื่อโปรแกรมการดูแลหลังการช่วยเหลือของ Exodus Road และกล่าวว่า “ข้อกล่าวหาที่ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับ Exodus Road มีโอกาสทำให้องค์กร

ถูกมองโดยแง่ลบ ดังนั้น เราจะดำเนินการปกป้องพนักงานและพันธมิตรของเราจากข้อกล่าวเหล่านี้”  

Fisk made it clear the organization was not fighting common prostitution. “We fight human trafficking,” he said in an email. “Our teams are not looking for women and men who are in prostitution by choice, but rather those who cannot walk away from their situations due to ‘force, abduction, fraud, or coercion’ (which legally qualifies them as human trafficking victims).” 

ฟิสชี้แจงว่า Exodus Road ไม่ได้กำลังต่อสู้กับปัญหาการค้าประเวณีทั่วไป “แต่พวกเขากำลังสู้อยู่กับปัญหาการค้ามนุษย์” ทีมงานของพวกเขาไม่ได้กำลังค้นหาผู้หญิงหรือผู้ชายที่ทำงานค้าเพศโดยสมัครใจ แต่เป็นผู้ที่ไม่สามารถหนีออกจากสถานการณ์ที่พวกเขาติดอยู่ ณ ขณะนั้นได้ ไม่ว่าจะด้วยกำลัง การคุมขัง การหลอกลวง หรือการบังคับขู่เข็ญก็ตาม

‘Volunteer’ investigators

“อาสาสมัครนักสืบ”

 A specific complaint against Exodus Road was its use of what it calls “volunteer operatives,” who work in two-week stints alongside more senior investigators in “search and rescue” operations. Critics called it a voyeuristic practice that results in little or no worthwhile intelligence — but drives fundraising.

การใช้ “อาสาสมัครนักสืบ” ของ Exodus Road ซึ่งทำงานขึ้นตรงกับนักสืบชั้นอาวุโสเป็นระยะเวลาสองสัปดาห์เพื่อดำเนินการ “ค้นหาและกู้ภัย” ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการปฏิบัติที่มีเจตนาแอบแฝง ไม่เกิดประโยชน์ และทำไปเพื่อระดมทุน

Exodus Road lays out the work in dramatic fashion: “If you want to be on the front lines fighting human trafficking, you can become a volunteer operative supporting our national teams…. Evidence is gathered, cases are delivered, rescues and arrests are empowered on the front lines.” 

Exodus Road นำเสนองานตำแหน่งนี้โดยใช้คำพูดที่ปลุกเร้าอารมณ์อย่างเช่น “หากคุณต้องการทำงานอยู่ในแนวหน้าต่อการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ คุณสามารถเป็นตัวแทนอาสาสมัครนักสืบที่สนับสนุนทีมระดับชาติของเรา โดยทำหน้าที่รวบรวมหลักฐาน ส่งต่อภารกิจ ค้นหาและช่วยเหลือเหยื่อที่แนวหน้านี้”

The practice earns scorn from those who feel it is unrealistic to bring in people for a handful of days and expect real investigations. 

วิธีการนี้ถูกตำหนิจากคนที่รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่จะเรียกคนเข้ามาเป็นอาสาเพื่อทำงานเพียงแค่ไม่กี่วันแล้วคาดหวังการสืบสวนที่ได้ผล

Carter Quinley, who spent a decade working for anti-trafficking organizations in southeast Asia, including Thai police, called it unprofessional.

คาร์เตอร์ ควินลีย์ (Carter Quinley) ผู้ที่ทำงานในองค์กรป้องกันการค้ามนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย เปิดเผยว่าเขาเห็นว่าวิธีการนี้ไม่มีความเป็นมืออาชีพ

“It feels like a game, where a bunch of boys want to play in a bar… The classic white saviors — ‘I’m going to save these damsels in distress,’” Quinley said. “It’s like surgeons doing heart surgery without going to medical school.” 

“มันรู้สึกเหมือนเป็นการเล่นเกมที่กลุ่มหนุ่ม ๆ เข้ามาเล่นในบาร์… เหมือนกับว่าพวกเขาเป็นฮีโร่ที่เข้ามาทำภารกิจช่วยเหลือผู้หญิงที่ตกอยู่ในความลำบาก” ควินลีย์กล่าวพร้อมเปรียบเปรยว่า “มันเหมือนกับนักศัลยศาสตร์ที่ทำการผ่าตัดหัวใจโดยที่ไม่เคยไปโรงเรียนแพทย์”

The volunteers’ work was a sham, said Eric Shark, a former senior investigator with Exodus Road who has been sparring with the organization over this and other issues, many of them detailed in the open letter. (Exodus Road said Shark is “not a credible source of information.”)

เอริก ชาร์ค (Eric Shark) อดีตนักสืบชั้นอาวุโสใน Exodus Road ได้โต้เถียงกับองค์กรเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ตาม Exodus Road อ้างว่าเอริกไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

Shark said the training for the volunteers was thin. Between 2015-2017, he said he worked with six to eight deployments, with four to eight volunteer investigators each time. Most were men, with backgrounds as pastors, police, and NGO workers.

โดยเอริกกล่าวว่า การฝึกอาสาสมัครนั้นมีระยะเวลาสั้น ๆ ในระหว่างปี 2015-2017 เขากล่าวว่าเขามีการสัมมนากับอาสาสมัครเพียง 6-8 ครั้งเท่านั้น โดยมีนักสืบอาสาสมัคร 4-8 คนในแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่เป็นชายที่มีพื้นหลังเป็นพระคริสต์ ตำรวจ และผู้ทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

 None of their work led to any raids that he was aware of, he said. 

“เท่าที่ผมรู้ งานของอาสาสมัครพวกนี้ไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่” เอริกกล่าว

He told CEO Parker to stop using the volunteers because many were liabilities. At least once he threatened a nearly out-of-control volunteer with dismissal. But Parker refused to stop. “He loved bringing people over because it helps raise money for the organization,” Shark said.

เอริกได้บอกประธานองค์กรแมท พาร์กเกอร์ให้หยุดใช้อาสาสมัครเนื่องจากพวกเขามักกลายเป็นภาระ โดยเขาเปิดเผยว่าอย่างน้อยครั้งหนึ่งเขาเคยขู่อาสาสมัครที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งด้วยการไล่ออก แต่แมทก็ปฏิเสธที่จะหยุดใช้งานอาสาสมัคร 

“เขาชอบนำคนมาใช้เพื่อช่วยในการระดมทุนสำหรับองค์กร” เอริกกล่าว

People pay $4,500 to be a volunteer, which includes airfare and expenses, according to the website. Volunteers must be at least 30 and pass a background test and psychological evaluation. A day of in-person evaluations and testing follows. About 30% of those who apply are accepted. They also claim there is training on how to collect evidence, operate gear, and conduct intelligence gathering, according to the site. Shark said most of that was on the job.

หากอ้างตามเว็บไซต์ของ Exodus Road คนที่ต้องการเป็นอาสาสมัครจะต้องจ่ายเงินในจำนวน 4,500 ดอลลาร์สหรัฐซึ่งรวมถึงค่าตั๋วเครื่องบินและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และพวกเขาต้องอายุอย่างน้อย 30 ปีและต้องผ่านการทดสอบพื้นหลังและการประเมินทางจิตวิทยา หลังจากนั้นจะต้องผ่านการทดสอบทางร่างกายและการประเมินแบบสัมภาษณ์ ท้ายที่สุด มีประมาณ 30% ของผู้ที่สมัครเท่านั้นที่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นอาสาสมัคร

เว็บไซต์ยังกล่าวอีกว่า มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการเก็บหลักฐาน การใช้อุปกรณ์ และการดำเนินการรวบรวมข้อมูลระหว่างการสืบสวน แต่จากคำกล่างอ้างของเอริก การฝึกนี้เกือบทั้งหมดเป็นการฝึกในขณะปฏิบัติงานจริง

Exodus Road declined to talk specifics about its investigative work, citing security. “In regards to any matters pertaining to our front line investigative work or personnel issues and operational protocols are treated as confidential and we will not discuss those matters for the safety of our team and the privacy and dignity of our investigators, in-country staff, and the victims they serve,” wrote Fisk in an email. 

Exodus Road ปฏิเสธที่จะพูดถึงรายละเอียดงานสืบสวนของพวกเขาโดยอ้างถึงเหตุผลด้านความปลอดภัย โฆษกฟิสได้กล่าวในอีเมลว่า “เรื่องที่เกี่ยวกับงานสืบสวนในแนวหน้า ปัญหาเกี่ยวกับบุคลากร และกระบวนการดำเนินงานทั้งหมดถูกพิจารณาเป็นความลับ เราจะไม่พูดถึงเรื่องเหล่านี้เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรของเรา ความเป็นส่วนตัว ชื่อเสียงของนักสืบและเหยื่อที่พวกเราช่วยเหลือ”

Failed operation?

 ความล้มเหลวในการดำเนินการ?

A Thai-American woman, who asked to remain anonymous because she now does similar work in the U.S., cited a trip to a red light district where a lead on a vulnerable woman was never followed up.

หญิงสัญชาติไทย-อเมริกาท่านหนึ่งที่ขอไม่เปิดเผยชื่อ ได้กล่าวถึงการเดินทางไปยังย่านค้าประเวณีระหว่างที่ทำงานกับ Exodus Road ว่าเป็นการติดตามเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับเหยื่อที่ไม่เกิดประโยชน์อันใด  

The woman, then 24, was asked to accompany Parker and pretend to be his girlfriend on an undercover trip to a bar in Pattaya. It was awkward because she worked in the office and was not trained to do undercover. The trip was supposed to be … what? Investigative? She wasn’t sure and said it was never explained. 

หญิงท่านนี้ที่ตอนนั้นอายุ 24 ปี ถูกขอให้ไปยังบาร์แห่งหนึ่งในเมืองพัทยากับแมท โดยเธอต้องปลอมตัวเป็นแฟนสาวของเขา ซึ่งการปฏิบัติงานลักษณะนี้ทำให้เธอรู้สึกอึดอัดใจ เพราะเธอเคยแต่ทำงานในสำนักงานและไม่เคยรับการฝึกอบรมเป็นนักสืบ การกระทำเช่นนี้ควรจะเรียกว่าอะไร? การสืบสวน? เธอไม่แน่ใจเช่นกันและกล่าวว่าไม่เคยได้รับคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย

In the bar, she spoke with a 16-year-old girl named Man, in a haunting conversation. The girl said she was supposed to sell her virginity. The employee was appalled. Man wasn’t scared, depressed or drugged, she said. “She was just kind of resigned that this is what my job is now.”

หญิงท่านนี้กล่าวอีกว่า เมื่อเธออยู่ในบาร์ เธอได้พูดคุยกับ แมน เด็กสาวคนหนึ่งที่มีอายุเพียง 16 ปี โดยบทสนทนานั้นทำให้เธอหดหู่ใจอย่างมาก เพราะสาวน้อยกล่าวว่าเธอถูกบอกให้ขายความบริสุทธิ์ของเธอ หญิงท่านนี้ตกใจที่ได้ฟังเช่นนั้น แต่กลับกัน แมนกลับไม่รู้สึกหวาดกลัว หดหู่ หรือมีอาการติดยาใด ๆ เธอแค่ยอมรับว่านี่คืองานของเธอ ณ ตอนนี้

The woman, Parker and another investigator left, doing nothing to help Man. What are we going to do for her?, she asked. We can’t help every girl, she was told. And that was that.

ผู้หญิงท่านนี้ แมท และนักสืบอีกคนหนึ่ง ได้ออกจากบาร์แห่งนั้นโดยไม่ได้ทำอะไรเพื่อช่วยเด็กหญิงคนนี้เลย โดยผู้หญิงท่านนี้ได้ถามกับแมทว่าเราจะทำอะไรให้เธอ และได้รับคำตอบเพียงว่าเราไม่สามารถช่วยเหยื่อทุกคนได้เพียงเท่านั้น

 “I thought we had information to help someone and we just walked away,” she said. There was no plan, no debriefing after, no follow through. What was the point? “I was very puzzled,” she said. 

“ฉันคิดว่าเรามีข้อมูลที่จะช่วยคน ๆ นึงแล้ว แต่เราก็เดินจากเธอมา” เธอกล่าว ไม่มีแผนหรือการสรุปผลหลังจากนั้น ไม่มีการดำเนินการใด ๆ ต่อมา การไปที่บาร์นั่นทำไปเพื่ออะไร? “ฉันสับสนมาก” เธอกล่าว

On another occasion, while serving as Parker’s interpreter for a group of lawmen, the woman had a side conversation in Thai with an attendee. That caught Parker’s attention, but not in a good way. He later told her she should not speak to the others, but should be a “submissive Thai girl.” 

ครั้งหนึ่ง ในขณะทำหน้าที่เป็นล่ามให้กับแมทและกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจชาวไทย ผู้หญิงท่านนี้เปิดเผยว่าเธอได้มีการสนทนาในภาษาไทยที่นอกเหนือจากคำพูดของแมท สิ่งนี้ได้ดึงความสนใจของเขาแต่ไม่ใช่ในทางที่ดีนัก ในภายหลังเขาได้บอกเธอว่าไม่ควรพูดกับผู้อื่นเพราะเธอควรเป็น “สาวไทยที่ว่านอนสอนง่าย”

 “I said, ‘What?’ I am a Thai girl, but also an American girl.” She found the remark deeply upsetting. Her then boyfriend, now husband, confirmed they spoke about both incidents. 

“อะไรนะ? ฉันเป็นคนไทยแต่ก็มีเชื้อสายอเมริกัน” ผู้หญิงท่านนี้โต้ตอบแมทพร้อมอธิบายความรู้สึกภายหลังว่า คำพูดของเขาทำให้เธอรู้สึกโกรธเป็นอย่างมาก ซึ่งแฟรงค์ที่เป็นสามีคนปัจจุบันของเธอก็ได้ยืนยันว่าแมทได้พูดกับภรรยาของเขาแบบนั้นจริง ๆ 

Parker denied the comment was made, said Fisk: He “categorically denies ever making the alleged racial and sexist comment. This is completely out of character and is not consistent with what he would say or do. These claims are hurtful and untrue.”

แต่อย่างไรก็ตาม แมทปฏิเสธว่าเขาได้พูดสิ่งนั้น โดยฟิสโฆษก Exodus Road กล่าวว่า “แมทไม่เคยกล่าวคำพูดเหยียดหยามทางเพศและเชื้อชาติลักษณะนี้ นั่นไม่ใช่นิสัยของเขา คำกล่าวหานี้เป็นอันตรายและไม่เป็นความจริง”

Counting the victims

การนับจำนวนเหยื่อ

Exodus Road claims an impressive record of rescuing victims: “1,483 survivors rescued,” it posted on its website, along with “804 offenders arrested.”

Exodus Road อ้างว่าพวกเขาสามารถทำสถิติที่น่าประทับใจในการช่วยเหลือเหยื่อ “รวมทั้งสิ้น 1,483 คน” บนเว็บไซต์ของพวกเขาพร้อมกับ “จับกุมคนร้ายได้ทั้งหมด 804 คน”

But its numbers are not that transparent. It’s not clear how many people were rescued in which countries, what counts as a rescue, what was the breakdown of women or children rescued, and what were their circumstances.  

แต่ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีความโปร่งใสและชัดเจนทั้งในเรื่องจำนวนประเทศของเหยื่อที่ถูกช่วยเหลือ ความหมายของการช่วยเหลือ และจำนวนที่แท้จริงของเหยื่อทั้งชายและหญิงที่ถูกช่วยเหลือ 

Spokesman Fisk said the nonprofit only counts rescues when it has a “primary impact.” Its investigators work with police, who make the actual rescues and arrests, and it counts those rescues when Exodus Road is directly involved. All the cases are classified as human trafficking, he said.

โฆษกฟิสกล่าวว่า Exodus Road จะแสดงจำนวนเหยื่อที่ถูกช่วยที่มี “ผลกระทบหลัก” เท่านั้น โดยนักสืบขององค์กรจะทำงานร่วมกับตำรวจที่ทำหน้าที่ช่วยเหยื่อและจับกุมคนร้าย โดยองค์กรจะนับแค่จำนวนเหยื่อที่องค์กรมีส่วนร่วมโดยตรงเท่านั้น ทุกกรณีถูกจัดประเภทเป็นการค้ามนุษย์ตามคำกล่าวของฟิส

Some expressed skepticism about the numbers, noting a lack of transparency is a common tactic in a field with few standards. 

บางคนแสดงความสงสัยต่อข้อมูลเหล่านี้ โดยยกตัวอย่างว่า องค์กรที่มาตรฐานต่ำมักขาดความโปร่งใสในเรื่องนี้

Lauren Pinkston, who has studied and written about faith-based, anti-trafficking organizations, said more transparency is needed by Exodus Road and many other nonprofits in the field before their numbers can be trusted. Many “rescued” women often end up back in the sex trade because they lack needed aftercare. How are those women counted? How much money, she wondered, would be spent rescuing the same women again? 

ลอเรน พิงค์สตัน (Lauren Pinkston) ผู้ศึกษาและนักเขียนเกี่ยวกับองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ที่มีพื้นฐานทางศาสนาเห็นว่า  Exodus Road และองค์กรอื่น ๆ  ต้องมีความโปร่งใสมากขึ้นในเรื่องจำนวนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ เพราะหญิงที่ถูก “ช่วย” หลายคนอาจกลับมาค้าเพศเหมือนเดิมเนื่องจากไม่ได้รับการดูแลหลังการช่วยเหลือ ปัญหานี้ทำให้เกิดคำถามว่าหญิงเหล่านี้จะถูกนับอย่างไร และถ้าต้องใช้เงินในการช่วยเหลือหญิงเหล่านี้อีกครั้ง จำนวนเงินที่จะต้องใช้จะเป็นเท่าไหร่ ลอเรน ถาม